ทำไมแต่งงานต้องมีสินสอดงานแต่ง เปิดประวัติและที่มาของคำว่า สินสอด

ประเพณีเรื่องการแต่งงานของไทยแต่โบราณนั้นมีหลายขั้นตอน หนึ่งในนั้นก็คือการมอบ “สินสอดงานแต่ง” ให้แก่ฝ่ายหญิง แต่ในปัจจุบันหลายคนอาจสงสัยว่าสินสอด คืออะไร การมอบสินสอดทองหมั้นให้อีกฝ่ายจำเป็นหรือไม่ ความจริงแล้วการมอบสินสอดทองหมั้นมีประวัติและที่มาอย่างไรกันแน่ วันนี้ ShopBack Blog มีคำตอบมาฝากค่ะ

สินสอด หมายถึง ค่าตอบแทนการสมรส เป็นการมอบทรัพย์สินเพื่อตอบแทนที่อีกฝ่ายยินยอมสมรสด้วย สินสอดงานแต่งไม่ได้ปรากฎอยู่ในวัฒนธรรมของไทยเท่านั้นนะคะ เพราะประวัติศาสตร์ของการมอบสินสอดนับย้อนไปได้หลายพันปี อีกทั้งยังเป็นธรรมเนียมในเกือบทุกอารยธรรม ตั้งแต่อียิปต์โบราณ เมโสโปเตเมีย ฮิบรู แอซเท็ก อินคา ไปจนถึงกรีกโบราณ โดยสินสอดสำหรับงานแต่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สินสอดให้เจ้าสาว (Dower) และสินสอดให้เจ้าบ่าว (Dowry)

สินสอดงานแต่งที่มอบให้แก่ครอบครัวของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการสมรสเรียกว่า สินสอดเจ้าสาว หรือก็คือสินสอดทองหมั้นที่คนไทยคุ้นเคยกันดี เป็นทรัพย์สินมีค่าที่มอบให้เพื่อตอบแทนการยินยอมสมรสของฝั่งเจ้าสาว ส่วนใหญ่คนรับมักเป็นผู้ใหญ่หรือครอบครัวของฝ่ายหญิง อาจเรียกแบบกว้างๆ ว่า ราคาเจ้าสาว ก็ได้ การมอบสินสอดเจ้าสาวนี้นอกจากประเทศไทยของเราแล้ว ยังปรากฎอยู่ในสังคมอื่นอีกหลายแห่ง ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ จีน แอฟริกา หรือธรรมเนียมประเพณีในศาสนาอิสลามที่ฝ่ายชายต้องจ่าย มะฮัร หรือก็คือของขวัญและสินน้ำใจให้ฝ่ายหญิง เป็นต้น

ความหมายของสินสอดงานแต่งที่มอบให้เจ้าบ่าวก็คล้ายคลึงกับสินสอดเจ้าสาว ต่างกันที่เป็นทรัพย์สินที่มอบให้กับฝ่ายชายหรือครอบครัวของฝ่ายชาย สาเหตุที่ต้องมี Dowry ก็เพราะบางประเทศครอบครัวฝ่ายหญิงจะเป็นผู้สู่ขอฝ่ายชาย หรืออย่างอินเดียที่มีการมอบสินสอดให้เจ้าบ่าวเพราะถือว่าเจ้าบ่าวจะเป็นผู้ดูแลเจ้าสาวต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการมอบสินสอดให้เจ้าบ่าวในประเทศเอเชียใต้อื่นๆ อย่างบังคลาเทศและปากีสถาน หรือในแถบยุโรปที่มีการมอบ Dowry มาอย่างยาวนานย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคโบราณและยุคกลางเลยทีเดียว สำหรับฝั่งยุโรปแต่เดิมการมอบ Dowry จะเป็นการมอบทรัพย์สินติดตัวให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็น “สินเดิม” ติดตัวไปก่อนแต่งงาน แต่เมื่อเวลาผ่านไปฝ่ายชายก็กลายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น การมอบ Dowry จึงกลายมาเป็นการมอบทรัพย์สินให้ฝ่ายชายในที่สุด โดยถือว่าฝ่ายชายเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ต่างๆ ในที่ดินของตน อีกทั้งยังเป็นผู้นำทรัพย์สินเหล่านี้ไปใช้เพื่อทำหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดงานแต่งและเพื่อกิจการต่างๆ ในครอบครัวด้วย ธรรมเนียมการมอบสินสอดค่อยๆ หายไปจากยุโรปและหลายๆ พื้นที่ในช่วงศตวรรษที่ 19 – 20 แต่ก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งช่วงท้ายศตวรรษที่ 20 แม้รัฐบาลของบางประเทศจะประกาศว่าการเรียกร้องสินสอดทองหมั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมายก็ตาม

คำที่มักมาคู่กับสินสอดงานแต่งก็คือ ทองหมั้นหรือของหมั้น หมายถึง ทรัพย์สินต่างๆ ที่มีค่า ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทอง เครื่องประดับ บ้าน รถ คอนโด หรือสิทธิต่างๆ ที่ตีมูลค่าเป็นเงินได้ ตามประเพณีโบราณทองหมั้นจะตกเป็นของฝ่ายหญิงเพื่อเป็นสมบัติติดตัวในเวลาแต่งงาน ส่วนการมอบสินสอดทองหมั้นตามแนวคิดของไทยนั้นเป็นกุศโลบายของคนโบราณเนื่องจากในอดีตการแต่งงานมักเป็นการคลุมถุงชน เพื่อป้องกันเจ้าสาวเป็นหม้ายขันหมากจึงต้องเรียกสินสอดทองหมั้นไว้เพื่อไม่ให้ฝ่ายชายทิ้งงานแต่งงาน อีกทั้งยังมีเหตุผลทั้งในด้านสังคม เป็นที่เชิดหน้าชูตา รวมถึงเพื่อเป็นเครื่องการันตีความมั่นคงให้กับฝ่ายเจ้าสาวด้วยเพราะเป็นทรัพย์สินที่จะตกเป็นของฝ่ายหญิงนั่นเอง

ขันหมากหมั้นนิยมใช้ขันเงิน ขันทอง เพื่อใส่สิ่งของต่างๆ ตามธรรมเนียมประเพณี เป็นที่มาของคำว่า “แห่ขันหมาก” เพื่อนำไปสู่ขอฝ่ายหญิงที่บ้าน มีทั้งหมด 2 ขัน ดังนี้

• None ใส่สินสอดทองหมั้น เงิน ทอง เพชร เครื่องประดับ โฉนดที่ดินหรือคอนโด เป็นต้น รองขันด้วยใบเงิน ใบทอง ใบนาค โดยใส่ข้าวเปลือก งา ถั่วเขียว แยกไว้ในถุงผ้าแพร เป็นสัญลักษณ์ให้ความรักของบ่าวสาวเจริญงอกงาม คลุมขันด้วยผ้าแพรหรือผ้าลูกไม้

ประกอบด้วยธูปแพ เทียนแพ และกรวยใบตอง ใส่ดอกรักและดอกบานไม่รู้โรยเพื่อให้มีความหมายมงคล สื่อถึงความรักที่มั่นคงยืนยาว

เป็นพานสำหรับมอบให้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง ใส่ผ้าขาวม้าและผ้าแพรหรือผ้าห่ม

ใส่ขนม ผลไม้หรืออาจจัดสุรามาใช้เซ่นไหว้บรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปด้วยก็ได้ (แล้วแต่ตกลงกัน)

พิธีส่งตัวเข้าหอเป็นขั้นตอนสุดท้ายของงานแต่งงานแบบไทย มักมีการดูฤกษ์ยามที่ดีเพื่อส่งตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวเข้าหอ โดยระหว่างรอฤกษ์จะมอบหน้าที่ให้ผู้ใหญ่หรือคนสูงอายุที่มีความรู้มีประสบการณ์มาอบรมสั่งสอนให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวประพฤติดี มีน้ำใจต่อกัน โดยใช้น้ำเสียงอันไพเราะหรือที่เรียกว่าการกล่อมหอ จากนั้นเมื่อใกล้ถึงฤกษ์พ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาวจะเชิญคู่สามีภรรยาที่ตนนับถือ มีชีวิตครอบครัวอบอุ่นสมบูรณ์มาทำหน้าที่ปูที่นอนให้บ่าวสาวเพื่อความเป็นสิริมงคล

ในพิธีปูที่นอนแล้วจะเรียงหมอนสองใบไว้คู่กัน ปัดที่นอนพอเป็นพิธี แล้ววางของต่างๆ ลงไป เช่น หินบดยาหรือหินก่อไฟในครัวหมายถึงความหนักแน่น ไม้เท้าหมายถึงอายุยืนยาว ฟักเขียวหมายถึงอยู่เย็นเป็นสุข พานใส่ถุงข้าวเปลือก งา ถั่วทองหรือถั่วเขียวหมายถึงความเจริญงอกงาม ขันใส่น้ำฝนหมายถึงความเย็นชุ่มชื่นรักใคร่กลมเกลียว เป็นต้น จากนั้นจะโปรยข้าวตอกดอกไม้บนที่นอนแล้วให้ผู้ใหญ่ทั้งคู่นอนบนเตียงโดยฝ่ายหญิงนอนฝั่งซ้าย ฝ่ายชายนอนฝั่งขวา ปิดท้ายด้วยการกล่าวอวยพรคู่บ่าวสาว

เมื่อพิธีปูที่นอนเรียบร้อยแล้วคู่ผู้ใหญ่ที่ทำพิธีจะพาเจ้าบ่าวเข้ามาในหอ เจิมหน้าผากอวยพร ตามด้วยการนำเจ้าสาวเข้าหอ จากนั้นทั้งคู่ต้องกราบพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่เพื่อขอพร รับโอวาทจากผู้ใหญ่ แล้วจึงนอนลงบนที่นอนเพื่อความเป็นสิริมงคล ก็เป็นอันจบพิธี

ได้รู้กันไปแล้วนะคะว่าสินสอดงานแต่งมีที่มาอย่างไร และในประเทศไทยของเราสินสอด คืออะไรบ้าง แม้ปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะไม่เน้นการมอบสินสอดเท่าในอดีต แต่การรู้จักธรรมเนียม ประเพณี และที่มาของสินสอดเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะในสังคมของหลายคนก็ยังคงมองว่าสินสอดคือเรื่องสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาเท่านั้น ความรักจะมั่นคงยืนยาวหรือไม่ ยังไงก็ขึ้นอยู่กับความรักและความเข้าใจของคนสองคนมากกว่าค่ะ ShopBack Blog ขอเป็นกำลังใจให้ความรักของทุกคนเลยนะคะ