พิธีหมั้นอย่างเดียว แหวนผู้ชายใครเป็นคนซื้อ

จนทำให้คู่บ่าวสาวที่ต้องการจัดแต่ ‘พิธีหมั้นอย่างเดียว’ นั้น เกิดความสับสน และมีคำถามมากมายที่ต้องใช้เวลาหาข้อมูลกันอย่างละเอียด

โดยคำถามหลักๆ จากเจ้าสาวที่มักจะเป็นฝ่ายดูแลส่วนพิธีการ ก็คงหนีไม่พ้นเกี่ยวกับข้าวของที่ต้องเตรียมในพิธีหมั้น โดยเฉพาะของที่มีมูลค่าอย่างสินสอด และแหวนหมั้น ที่จะต้องตกลงกันให้ดีระหว่างทั้งสองฝ่าย

คนเตรียมงานจึงต้องเสียเวลาจำนวนมาก ไปกับการหาคำตอบว่าอะไรที่เป็นของสำหรับพิธีหมั้นอย่างเดียว และอะไรที่เป็นของสำหรับพิธีแต่งงานกันแน่

สำหรับคำตอบในคำถามข้างต้น ว่าในพิธีหมั้นอย่างเดียวนั้น แหวนผู้ชาย ควรจะเป็นความรับผิดชอบของใคร?

เพราะในธรรมเนียมไทย การหมั้นนั้น คือการที่ฝ่ายชาย นำของกำนัลมามอบให้กับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นเครื่องประกันและจับจองตัวฝ่ายหญิงเอาไว้ ก่อนจะถึงพิธีแต่งงาน จึงมีเพียงเครื่องประดับสำหรับฝ่ายหญิง โดยอาจจะเป็นแหวน กำไล สังวาล หรือเครื่องประดับอื่นๆ ที่มีมูลค่า

ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีแหวนสำหรับฝ่ายชายเสมอไปค่ะ

ส่วนที่เห็นการแลกแหวนระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงในพิธีแต่งงานทั่วๆ ไปนั้น เป็นธรรมเนียมจากตะวันตกที่บ่าวสาวยุคปัจจุบันนิยมกันค่ะ โดยหยิบเอาพิธีแลกแหวนในโบสถ์ของฝรั่ง มารวมเข้ากับพิธีหมั้นแบบไทยๆ นั่นเอง

คงต้องมาดูที่ความหมาย และความสำคัญในการจัดพิธีหมั้นของไทย รวมถึงลำดับและอุปกรณ์ในพิธีหมั้นอย่างเดียวให้เข้าใจเสียก่อน แล้วค่อยตัดสินใจเลือกว่า จะใช้ธรรมเนียมแบบไหน สำหรับงานหมั้นของคุณค่ะ

ประเพณีไทยสมัยโบราณนั้น นิยมจับคู่ลูกสาวลูกชายของ 2 ครอบครัวที่เห็นว่าเหมาะสมกันเมื่อถึงวัยที่ควรจะแต่งงาน โดยจะมีการเจรจากันระหว่างผู้ใหญ่ทั้ง 2 บ้าน หากความเห็นตรงกัน ผู้ใหญ่ฝ่ายชายก็จะไปจัดการเร่งปลูกเรือนหอเพื่อรับสะใภ้เข้าบ้าน

ในช่วงเวลาที่ต้องรอเรือนหอเสร็จเรียบร้อยนี้เอง จึงทำให้เกิดพิธีหมั้นไว้ก่อน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวฝ่ายหญิงว่า จะยกขันหมากมาสู่ขอลูกสาวบ้านนี้ตามที่พูดจากันไว้อย่างแน่นอน หลังจากเรือนหอเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเองค่ะ

พอมาถึงสมัยปัจจุบัน เพื่อความสะดวกของบ่าวสาวและแขกในงาน พิธีหมั้น จึงถูกรวบเข้ากับพิธีแต่งงานอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดงานแล้ว ยังประหยัดเวลาเหลือเพียงแค่งานเช้าและงานเย็นเท่านั้นค่ะ

แต่สำหรับคู่ที่ต้องการจัดพิธีหมั้นไว้ก่อน ก็คงจะแยกแทบไม่ออกว่า พิธีการส่วนไหนเป็นของพิธีหมั้นอย่างเดียว ส่วนไหนเป็นของพิธีแต่งงาน ยิ่งหากเจ้าสาวเป็นคนจัดเตรียมพิธีหมั้นด้วยตัวเองแล้วล่ะก็ คงจะสับสนอยู่ไม่ใช่น้อย ถ้าอย่างนั้น ลองดูหัวข้อต่อไป ที่จะบอกตั้งแต่ลำดับขั้นตอนไปจนถึงข้าวของที่คุณต้องเตรียมไว้อย่างละเอียดค่ะ

สำหรับลำดับงานในพิธีหมั้นอย่างเดียวนั้น ก็ไม่มีขั้นตอนอะไรที่ยุ่งยาก เพียงแต่ฝ่ายชายจัดหาผู้ใหญ่ในการพูดเจรจาสู่ขอ ก่อนตกลงวันและฤกษ์ดีในการยกสินสอดทองหมั้นไปที่บ้านฝ่ายหญิง ซึ่งอาจทำเป็นการภายในเฉพาะสองครอบครัว หรือจะจัดงานเชิญแขกเหมือนอย่างงานแต่งก็ได้ โดยเริ่มต้นจาก

3. ฝ่ายชายสวมแหวนหมั้นให้กับฝ่ายหญิง เป็นอันเสร็จพิธีหมั้น

หลังจากเสร็จพิธี ฝ่ายหญิงอาจมีเลี้ยงต้อนรับผู้ใหญ่ฝ่ายชายและแขกที่มาร่วมงานเพื่อเป็นการขอบคุณ ซึ่งผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายที่เลือกมาทำหน้าที่ในการเจรจาสู่ขอนี้ มักจะเลือกผู้ใหญ่ที่มีคุณสมบัติเป็นคู่สามีภรรยาที่ไม่เคยหย่าร้างกัน เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับคู่หมั้นนั่นเองค่ะ

สิ่งสำคัญในพิธีหมั้นอย่างเดียวที่แตกต่างจากพิธีแต่งงานก็คือ จะไม่มีการนับสินสอดในขันหมากหมั้น เพราะโดยมากแล้วสินสอดมักเป็นเครื่องประดับทองหรือเพชร ไว้ให้เจ้าสาวใส่ในวันแต่งงาน และมีเงินหรือทองตามที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้

อีกทั้งพิธีหมั้นอย่างเดียว มักจะจัดกันเองเฉพาะคนในครอบครัว จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำสินสอดออกมานับเหมือนเช่นพิธีแต่งงานค่ะ